OEC Hackathon: เรียนดี มีความสุข ชุมชนยังยืน
โอกาสสำหรับเยาวชนไทยระดับชั้น ม.ปลาย และ อาชีวศึกษา ในการพัฒนาทักษะที่จำเป็น จากการเรียนรู้อย่างมีความสุข ด้วยกิจกรรมแฮกกาธอน สู่การพัฒนานวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาหรือสร้างความยั่งยืนให้กับชุมชนในประเด็นที่ตนเองสนใจ กับโครงการ "OEC Hackathon เรียนดี มีความสุข ชุมชนยั่งยืน" จัดโดย สภาการศึกษา
โดย 10 ทีมที่ผ่านเกณฑ์และได้รับคะแนนสูงสุดจะได้รับการคัดเลือกเพื่อเข้าร่วมค่าย OEC Hackathon Camp 3 วัน 2 คืน (7 - 9 ก.พ. 2568 ณ กรุงเทพมหานคร) ทางโครงการสนับสนุนที่พักในการเข้าร่วมกิจกรรมให้ทีมผู้ผ่านเข้ารอบ
หมดเขตรับสมัครใน...
🗓️ กำหนดการสำคัญ
คัดเลือก
และประกาศผล
11 - 24 มกราคม 2568
ทางหน้าเพจ และอีเมล์
ปฐมนิเทศ (ออนไลน์)
เสาร์ 25 มกราคม 2568
10 ทีมที่ผ่านเข้ารอบ
OEC Hackathon Camp
7 - 9 กุมภาพันธ์ 2568
กรุงเทพมหานคร
🏆รางวัล
รางวัลชนะเลิศ
จำนวน 1 รางวัล: โล่รางวัลจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และเงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร
รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง
จำนวน 1 รางวัล: โล่รางวัลจากรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และเงินรางวัล 5,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร
รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง
จำนวน 1 รางวัล: โล่รางวัลจากผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ และเงินรางวัล 3,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร
ประกาศนียบัตรผู้ผ่านเข้าค่าย OEC Hackathon
สำหรับนักเรียนและครูที่ปรึกษาที่มาร่วมงานทุกท่าน
⚙️OEC Hackathon Camp
10 ทีม ที่ผ่านเข้ารอบจะได้เข้าร่วมกิจกรรม ได้รับความรู้และพัฒนาทักษะจำเป็นผ่านกิจกรรมค่าย Hackathon
Knowledge Sharing
การแบ่งปันความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ
Mini-Workshop
กิจกรรม Workshop เสริมทักษะในการแข่งขัน
Mentoring Session
ปรึกษาไอเดียแข่งขันกับตัวจริงในด้านต่างๆ เช่น เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม การพัฒนาสังคม
Idea Pitching
การประกวดการนำเสนอไอเดียนวัตกรรม ในเวลา 7 นาที
📑เกณฑ์การคัดเลือก
1. การประเมินด้านทักษะของทีมผู้เข้าร่วม (Skill Evaluation) ได้แก่
1.1 ทักษะในการแก้ไขปัญหา
เช่น มีการค้นคว้า รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูล และใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อเอาชนะอุปสรรคในการแก้ปัญหา
1.2 ทักษะในการสื่อสาร
ประกอบด้วย การให้เหตุผล การตอบคำถาม และชี้แจงแนวคิดที่เกี่ยวข้อง มีเทคนิคในการการนำเสนอผ่านสื่อ/เครื่องมือที่เหมาะสม
1.3 ทักษะในการบริหารจัดทำโครงการ
ประกอบด้วยการจัดการงานและการแบ่งหน้าที่ในทีม มีการเรียนรู้ด้วยตนเองจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ รวมถึงการพัฒนาต่อยอดจากคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญและแก้ไขข้อผิดพลาด
2. การประเมินด้านนวัตกรรมของทีมผู้เข้าร่วม (Innovation Evaluation)
2.1 ความเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย
ประกอบด้วย ความชัดเจนและความเข้าใจในปัญหาของกลุ่มเป้าหมาย และสามารถำเสนอนวัตกรรมที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
2.2 ความเป็นไปได้ในการดำเนินโครงการ
หมายถึง การใช้รูปแบบหรือเทคโนโลยีที่เหมาะสม โดยมีแนวทางการพัฒนาที่ทำได้จริง
2.3 ความยั่งยืนของโครงการ
มีกลยุทธ์สร้างการมีส่วนร่วมและการรับฟังผู้มีส่วนได้เสีย มีการนำเสนอวิธีประเมินและวัดผลกระทบที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบในเชิงลบ เช่นในด้านสังคม เศรษฐกิจ หรือสิ่งแวดล้อม
คุณสมบัติผู้สมัคร
นักเรียนระดับชั้นม.ปลาย หรือ อาชีวศึกษา (ระดับปวช.)
เป็นไอเดียนวัตกรรมที่มีเป้าหมายในการสร้างสรรค์ชุมชนที่ยั่งยืน
สมัครเป็นทีม 4 - 5 คนรวมครูที่ปรึกษา
สมาชิก 4 - 5 คน รวมอาจารย์ที่ปรึกษา
สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้หากผ่านเข้ารอบ
เข้าร่วมกิจกรรมได้ตรบ
✏️คำแนะนำในการกรอกใบสมัคร
ใน 1 ทีม ให้กรอกใบสมัคร 1 ใบ โดยหัวหน้าทีม หรือครูที่ปรึกษา
1. ไอเดียนวัตกรรม "เพื่อสร้างสรรค์ชุมชนยั่งยืน"
2. ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับทีม
3. แบบสอบถามก่อนเข้าร่วมโครงการ
💡แนวทางนวัตกรรม
กำหนดชุมชน
กำหนดหรือเลือกชุมชนในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงหรือละแวกสถานศึกษาของท่านในโครงการนวัตกรรม (Area-based Level)
ระบุปัญหา
ระบุปัญหาที่เกี่ยวกับความยั่งยืนของชุมชน และกลุ่มเป้าหมายของโครงการ
เสนอไอเดีย
นวัตกรรมการแก้ไขปัญหาหรือเพิ่มคุณค่าให้ชุมชนมีความยั่งยืน
กำหนดประเด็นความยั่งยืน
ทีมผู้เข้าแข่งขันกำหนดประเด็นความยั่งยืนของชุมชนที่สนใจได้เอง โดยเลือกด้านใดด้านหนึ่งที่ตรงกับความต้องการของชุมชนนั้นๆ ตัวอย่างเช่น การสร้างความเท่าเทียม การแก้ปัญหามลภาวะ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การแก้ปัญหาภัยพิบัติ การส่งเสริมเศรษฐกิจในชุมชน การสร้างงานสร้างอาชีพ การแก้ไขปัญหาการศึกษา หรืออื่นๆ เป็นต้น
ผลกระทบด้านความยั่งยืน
ทีมผู้เข้าแข่งขันสามารถกำหนดผลกระทบด้านความยั่งยืนด้วยตนเองตามความเหมาะสมของโครงการ เช่น ยุทธศาสตร์ชาติ ยุทธศาสตร์จังหวัด หรือ เป้าหมายความยั่งยืนโดยสหประชาชาติ (SDG Goals)
❓คำถามที่พบบ่อย
สามารถส่งโครงการที่ทำอยู่แล้วมาเข้าร่วมได้หรือไม่
สามารถส่งโครงการที่นักเรียนทำอยู่แล้วเข้าร่วมได้ หากมีเป้าหมายเกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์ชุมชนที่ยั่งยืน หากมีการนำไอเดียที่เคยประกวดมาส่งแข่งจะต้องมีการแจ้งให้ทีมงานทราบ
มีค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมค่ายหรือไม่
10 ทีมที่ผ่านเข้ารอบ OEC Hackathon Camp จะได้รับการสนับสนุนการเดินทาง (บางส่วน) และที่พัก รวม 3 คืน 3 วัน ณ สถานที่จัดงาน
ชื่อโครงการ เรียนดี มีความสุข ชุมชนยั่งยืน ต้องการนวัตกรรมแบบใด
โครงการนี้มองหานวัตกรรมจากความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนที่มีการบูรณาการความรู้และประยุกต์ใช้ทักษะจำเป็น (Essential Skills Set) โดยเปิดโอกาสให้กำหนดและนำเสนอไอเดียได้อย่างเปิดกว้าง โดยสามารถระบุชุมชนและกลุ่มเป้าหมายในประเด็นการสร้างสรรค์ความยั่งยืนที่ตนสนใจ
หากเข้ารอบแต่ไม่สามารถเข้าร่วม Hackathon Camp ได้จะเป็นอย่างไร
หากได้รับการคัดเลือกแต่ไม่สามารถยืนยันการเข้าร่วมได้ตามระยะเวลาที่กำหนด ทางโครงการขอสงวนสิทธิ์ในการเชิญทีมที่มีคะแนนในลำดับถัดลงไปเข้าร่วมแทน
บทบาทครู/อาจารย์ที่ปรึกษาเป็นอย่างไร
ทำหน้าที่ในลักษณะ Leadership Coach ประจำทีมช่วยประสานและสนับสนุนการทำงานเป็นทีมของนักเรียน โดยไม่เกี่ยวข้องกับการเสนอไอเดีย
ครู/อาจารย์ 1 ท่านมีชื่อในหลายทีมได้หรือไม่
สมาชิกแต่ละคนของทีม จะมีชื่ออยู่เพียงใน 1 ทีมเท่านั้น หากพบว่ามีชื่อปรากฎมากกว่า 1 ทีมขึ้นไป จะใช้ข้อมูลการสมัครล่าสุดในการพิจารณาเท่านั้น
มีเงื่อนไขการพิจารณาอื่นๆ อีกหรือไม่
ทางโครงการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาใบสมัครที่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องเป็นความจริงและครบถ้วนเท่านั้น หากมีการนำไอเดียโครงการที่เคยใช้ประกวดมาเข้าแข่งขัน จะต้องแจ้งให้ผู้ประสานงานโครงการทราบตั้งแต่เริ่มสมัคร